Album Gallery Songkhla Rajabhat University

ประมวลภาพกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

สถาบันวิจัยฯ มรภ.สงขลา ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสาวลักษณ์ขนมพื้นบ้าน ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ และ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวทุ่งรวงทองบ้านหนองโอย ต.รำแดง อ.สิงหนคร เสริมสร้างศักยภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา เดินหน้าลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ จ.สงขลา เจ้าหน้าที่นำทีมเยี่ยมชมพร้อมให้คำปรึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสาวลักษณ์ขนมพื้นบ้าน ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ และ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวทุ่งรวงทองบ้านหนองโอย ต.รำแดง อ.สิงหนคร หวังช่วยเสริมสร้างศักยภาพและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2568 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษาและติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และเชื่อมั่นว่ากิจกรรมในลักษณะนี้จะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัดสงขลา ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ นางสาวรามาวดี ปั้นทอง ผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี พร้อมด้วย นางสาวหัตภเรศ สมสีฤทธิ์ เจ้าหน้าที่โครงการ ได้เข้าเยี่ยมชมพร้อมทั้งให้คำปรึกษาแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสาวลักษณ์ขนมพื้นบ้าน ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตขนมพื้นบ้านที่ใช้ตาลโตนดเป็นส่วนประกอบหลัก มักจะมีรสหวานธรรมชาติจากน้ำตาลโตนด เช่น ขนมงากรอบ ขนมลากรอบ และขนมทองพับ โดยมีการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหารจนสามารถได้รับการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นอกจากนั้น ยังได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวทุ่งรวงทองบ้านหนองโอย ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณภาพสูง มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีระบบควบคุมคุณภาพที่ได้รับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เช่นเดียวกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ข้าว กข 43 ข้าวสังข์หยด ข้าวไรซ์เบอรรี่ และข้าวหอมปทุม มรภ.สงขลา ได้เข้าไปสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 2 กลุ่ม โดยพัฒนากระบวนการผลิตให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับตลาด และสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายโอกาสในการขายให้กว้างขึ้น ซึ่งทางกลุ่มมีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายตลาด ทาง มรภ.สงขลา จึงได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการประชาสัมพันธ์และขายสินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับชุมชน จากการลงพื้นที่พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความตั้งใจในการพัฒนาตนเองอย่างจริงจัง และได้แสดงความขอบคุณต่อการสนับสนุนและความใส่ใจจากมหาวิทยาลัยที่เข้าไปสนับสนุนและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน และเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรายได้ของชุมชนได้อย่างแท้จริง การลงพื้นที่ในครั้งนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่?8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน?และ เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อมูลและรูป โดย เพจ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขล

Image 1/12

Download View

Image 2/12

Download View

Image 3/12

Download View

Image 4/12

Download View

Image 5/12

Download View

Image 6/12

Download View

Image 7/12

Download View

Image 8/12

Download View

Image 9/12

Download View

Image 10/12

Download View

Image 11/12

Download View

Image 12/12

Download View